Header Image
ข้อมูลทั่วไปจังหวัด
watermark

บรรยายสรุปจังหวัดภูเก็ต
---------------------------

ประวัติจังหวัดภูเก็ต

      " ภูเก็ต " ได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่บ้านกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้ขุดพบเครื่องมือหินและขวานหินเป็นการแสดงให้ทราบว่ามี มนุษย์อาศัยในดินแดนแถบนี้ไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี มาแล้วและได้มีหลักฐานการ กล่าวถึงดินแดนในแถบนี้อีกครั้ง เมื่อปี พ .ศ. 700 หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 2 ในบันทึกของนักเดินเรือ ชื่อ คลอดิอุส ปโตเลมี กล่าวถึงผืนดินหรือแผ่นดินในส่วนนี้ว่า แหลมตะโกลา เป็นผืนดินที่ถูกดันออกมาทางใต้กลายเป็นแหลมยาวๆ อยู่ส่วนปลายสุดของจังหวัดพังงา อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ของเปลือกโลกขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า รอยเลื่อนคลองมารุย (Klong Marui Fault) ซึ่งวางตัวเป็นแนวยาวจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีและพังงา ลงมาทางทิศตะวันออกของภูเก็ต ต่อมาได้ถูกคลื่นลมในทะเลกัดเซาะ และตัดพื้นที่ดังกล่าวนี้ ออกจากผืนแผ่นดินใหญ่ จนกลายเป็นเกาะโดยเกิดร่องน้ำระหว่างจังหวัดภูเก็ตและพังงาขึ้น ที่เรียกว่า ช่องแคบปากพระ (เป็นร่องน้ำแคบ ๆ โดยส่วนที่ลึกที่สุดลึกเพียง 8-9 เมตร ) ในปัจจุบัน

      สำหรับการเรียกขานภูเก็ตของชาวต่างประเทศ ในอดีตนอกจากจะมีปรากฎในบันทึก เมื่อปี พ .ศ. 700 ของนักเดินเรือ คลอดิอุส ปโตเลมี ที่เรียกผืนดินในบริเวณนี้ว่า แหลมตะโกลา แล้ว ได้มีปรากฎหลักฐานการกล่าวถึง ผืนดินในบริเวณนี้อีกครั้ง จากบันทึก และแผนที่การเดินเรือมาเอเชียตะวันออก ของชาติยุโรป ระหว่าง พ.ศ. 2054-2397 เรียกผืนดินนี้ว่า จังซีลอน นอกจากนี้ ได้มีหลักฐานเกี่ยวกับการเรียกขาน ผืนดินนี้ของชาวทมิฬ์ในปี พ.ศ. 1568 ว่า มณิคราม หมายถึง เมืองแก้ว ซึ่งมีความหมายตรงกับชื่อ ภูเก็จ ที่ปรากฎในจดหมายเหตุเมืองถลาง ฉบับที่ 1 ในปี พ.ศ. 2328 และได้มีการเรียกขานเรื่อย ๆ จนกลายเป็น ภูเก็ต ซึ่งได้ปรากฎในราชกิจจานุเบกษา มาตั้งแต่ พ.ศ. 2450 เป็นต้นมา ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ชื่อของจังหวัดภูเก็ตที่ได้มีการกล่าวขานตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งปัจจุบันนั้น ประกอบด้วย แหลมตะโกลา มณิคราม จังซีลอน ภูเก็จ และภูเก็ต ซึ่งในบางครั้งได้มีการเรียกขานว่า สิลัน ถลาง และทุ่งคาร่วมด้วย

คำขวัญประจำจังหวัด

" ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม "

ตราประจำจังหวัด

      ตราประจำจังหวัดภูเก็ตในปัจจุบันเริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2528 เป็นรูปอนุสาวรีย์สองวีรสตรี อยู่ในวงกลมล้อมด้วยลายกนก ซึ่งแสดงถึงวีรกรรมอันห้าวหาญของท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทรที่ได้ปกป้องเมืองถลางให้พ้น จากการรุกรานของพม่า เมื่อปลายปีมะเส็ง พ.ศ.2328 สำหรับอักษรย่อของจังหวัดภูเก็ต ที่ ใช้ในทางราชการ คือ " ภก "

ธงประจำจังหวัด

ธงประจำจังหวัดภูเก็ตทำด้วยผ้าสีฟ้ามีขอบสีขาว ตรงกลางปักภาพวาดรูปท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทร ด้านหลัง เป็นรูปภูเขาอยู่ในวงกลม

ต้นไม้ประจำจังหวัด

ต้นไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต คือ " ต้นประดู่ "

ดอกไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต

 ดอกไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต คือ " ดอกเฟื่องฟ้า "

ต้นไม้มงคลพระราชทาน

      สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้ทรงโปรดพระราชทานกล้าไม้มงคล ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตนำไปปลูกเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ประชาชนชาวจังหวัดภูเก็ต เนื่องในงานรณรงค์โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ ฯ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537

ชื่อพันธุ์ไม้ ประดู่บ้าน

ชื่อสามัญ Burmese Rosewood

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus Willd.

วงศ์ LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น ประดู่กิ่งอ่อน สะโน อังสนา

ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล เข้มหรือดำคล้ำ มีสะเก็ดแตกเป็นร่องตื้นๆใบเป็นใบ ประกอบแบบ ขนนก มีใบย่อย แผ่นใบรูปรี โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็น ช่อขนาดใหญ่ รูปดอกถั่ว สีเหลือง ออกดอกช่วงเดือน มีนาคม-เมษายน ผล เป็นรูปโล่ มีครีบเป็น แผ่นกลม ตรงกลางนูน

ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้ทำสิ่งก่อสร้าง เปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนังและให้สีน้ำตาล สำหรับย้อมผ้า แก่นให้สีแดงคล้ำ

สถาปัตยกรรม

      สถาปัตยกรรมของชาวภูเก็ตที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ที่อยู่อาศัย สถานที่ราชการ และวัดวาอาราม สำหรับที่อยู่อาศัยที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวภูเก็ต สามารถแบ่งได้เป็น สถาปัตยกรรมแบบพื้นบ้าน สถาปัตยกรรมแบบจีน และสถาปัตยกรรมแบบผสม (แบบชิโนโปรตุกิส) ซึ่งมีรายละเอียดังนี้

รูปแบบ สถาปัตยกรรม : แบบพื้นบ้าน

ลักษณะสำคัญ วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ไม้ไผ่ ไม้โกงกาง หวาย และจาก
คุณสมบัต หาได้ง่ายจาก ท้องถิ่น
ลักษณะสำคัญ การตั้งเสาเรือนจะไม่ฝัง ดิน แต่จะวางหินเป็นฐาน
คุณสมบัติ ป้องกันการทรุด ตัว เพราะพื้นดินมีสภาพเป็นดินทราย
ลักษณะสำคัญ ฝาเรือนทำด้วยไม้ไผ่ขัด แตะเป็นลาย เช่น ลายลูกแก้ว ลายสองฯลฯ ไม่นิยม เจาะหน้าต่าง
คุณสมบัติ อากาศสามารถ ถ่ายเทได้สะดวก
ลักษณะสำคัญ ตัวเรือน ไม่มีระเบียง
คุณสมบัต เข้ากับสภาพภูมิ อากาศ ช่วงฝนตก พื้นเรือนจะไม่ผุ
ที่ตั้งบริเวณ บ้านดอน บ้านเคียน บ้านไนทอน และ บ้านฉลอง

รูปแบบ สถาปัตยกรรม : แบบจีน

ลักษณะสำคัญ วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ดินเผา และดินเหนียว
คุณสมบัต แข็งแรง และมี ความทนทาน
ลักษณะสำคัญ ตัวเรือนส่วนใหญ่จะเตี้ย
คุณสมบัติ เหมาะกับสภาพ อากาศที่ฝนตกชุก และลมแรง
ที่ตั้งบริเวณ อำเภอกะทู้

รูปแบบ สถาปัตยกรรม : แบบผสม ( แบบชิโนโปรตุกิส )

ลักษณะสำคัญ ตัวตึกมีลักษณะผสม แบบยุโรป และเอเชีย ( จีน )
คุณสมบัต อาคารไม่ร้อนอบ อ้าว มีแสงสว่าง ตามธรรมชาติ
ลักษณะสำคัญ มีทางเดินใต้ตึกเชื่อมต่อ กันระหว่างแต่ละตึก เรียกว่า อาเขต
คุณสมบัติ ช่วงฝนตกสามารถ เดินได้โดยไม่เปียก
ที่ตั้งบริเวณ บริเวณตัวเมือง ภูเก็ต ได้แก่ ถนน ถลาง ถนนรัษฎา ถนนเยาวราช ฯลฯ

 

 

 


Line

คะแนนโหวต :
starstarstarstarstar
จำนวนการเข้าชม : 88,641